วารสารวิจัย มข. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ฉบับธุรกิจและเศรษฐกิจ)

ปีที่ 10 | ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2554

ชื่อเรื่อง :

แบบจำลองการพยากรณ์ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Title :

Forecasting Model of Stock Index of Southeast Asia Countries

ผู้แต่ง :

ปาริฉัตร ทองคำ และ ประเสริฐ ไชยทิพย์

Authors :

Parichat Tongkum and Prasert Chaitip

บทคัดย่อ :

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแบบจำลองการพยากรณ์ของผลตอบแทน (Logarithmic Return) ของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในกลุ่มประเทศอาเซียน-5 (ASEAN-5) ได้แก่ ประเทศไทย ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศมาเลเซีย ประเทศสิงคโปร์ และประเทศอินโดนีเซีย เพื่อนำแบบจำลองดังกล่าวมาใช้พยากรณ์ความสัมพันธ์ของผลตอบแทนของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในกลุ่มประเทศอาเซียน-5 โดยทำการศึกษาเปรียบเทียบแบบจำลอง Bayesian Vector Autoregression (BVAR) ที่ใช้กระบวนการสถิติแบบเบส์เซียนที่ไม่ผ่านการปรับเปลี่ยนเพื่อให้ได้ค่าพยากรณ์ที่ดีที่สุด กับแบบจำ?ลอง Vector Autoregression (VAR) ที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย ผลการศึกษาพบว่าแบบจำลอง BVAR.lag1 สามารถให้ผลการพยากรณ์ผลตอบแทนของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่มีความถูกต้องแม่นยำมากกว่าแบบจำลอง VAR.lag1 สำหรับทุกประเทศในอาเซียน-5 หมายความว่า เมื่อพิจารณาจากแบบจำ?ลอง BVAR.lag 1 ผลตอบแทนของดัชนีตลาดหลักทรัพย์อาเซียน-5 ประกอบด้วยประเทศไทย ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศมาเลเซีย ประเทศสิงคโปร์ และประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมี Lag Length เท่ากับ 1 จะส่งผลกระทบต่อตัวแปรผลตอบแทนของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในแต่ละระบบสมการของแต่ละประเทศ ณ เวลาที่ศึกษามากที่สุด

Abstract :

The purpose of this study was to determine the forecasting model of the logarithmic return of stock index of ASEAN-5 countries including Thailand, Philippines, Malaysia, Singapore, and Indonesia; and to apply such model to forecast the logarithmic return of ASEAN-5 stock indices. The methodology used in the study was to compare the Bayesian Vector Autoregression (BVAR), which allows an unmodified Bayesian statistical procedure in order to obtain the best predictive value with the Vector Autoregressive (VAR), which has previously been widely used. The empirical results confirm that BVAR.lag1 is more accurate than VAR.lag1 for all of the ASEAN-5. This implies that when considering BVAR.lag1, the logarithmic return of the ASEAN-5 stock index including Thailand, the Philippines, Malaysia, Singapore, and Indonesia, at 1 lag length, has the greatest impact on the logarithmic return of the stock index variable in each equation for each country, at the current time.

คำสำคัญ :

เวคเตอร์ออโตรีเกรสชัน เบส์เซียนเวคเตอร์ออโตรีเกรสชัน ดัชนีตลาดหลักทรัพย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Keywords :

Vector Autoregression (VAR), Bayesian Vector Autoregression (BVAR), Southeast Asia Stock Index

รายละเอียดวารสาร

    
    
    

    วารสารล่าสุด
ปีที่ 12 | ฉบับที่ 2 กันยายน - ธันวาคม 2557

    ติดต่อ
กองบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น สำนักงานอธิการบดี อาคาร 2 123 หมู่ 16 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002

    โทรศัพท์ และ แฟกซ์
โทรศัพท์: 043-203176
แฟกซ์: 043-203177

    อีเมล์
kkurj@kku.ac.th