วารสารวิจัย มข. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ปีที่ 1 | ฉบับที่ 1 เมษายน - มิถุนายน 2554

ชื่อเรื่อง :

การเปรียบเทียบมโนมติก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง พันธะเคมี ตามโมเดลการเรียนรู้ T5 แบบกระดาษ

Title :

COMPARING STUDENTS’ CONCEPTIONS OF CHEMICAL BONDS PRIOR AND AFTER THE IMPLEMENTATION OF PAPER-BASED T5 LEARNING MODEL

ผู้แต่ง :

สมเจตน์ อุระศิลป์ และ ศักดิ์ศรี สุภาษร

Authors :

Somjet Urasin and Saksri Supasorn

บทคัดย่อ :

เนื้อหาวิชาเคมีจำนวนมากเป็นเรื่องที่ยากในการทำความเข้าใจ เช่น พันธะเคมี ส่งผลให้นักเรียนมีมโนมติที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับพันธะเคมี วิธีการสอนแบบบรรยายเพียงอย่างเดียวอาจมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอในการแก้ไขมโนมติที่คลาดเคลื่อนนี้ การสอนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามโมเดล T5 แบบกระดาษเป็นการเรียนแบบร่วมมือรูปแบบใหม่ซึ่งได้นำมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียน เรื่อง พันธะเคมี จำนวน 6 สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ รวม 17 ชั่วโมง โดยศึกษากับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนธารทองพิทยาคม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 33 คน  กระบวนการเรียนรู้ตามโมเดล T5 ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ทำงานเดี่ยวให้เสร็จ 2) ให้ข้อเสนอแนะงานเดี่ยวของเพื่อน 2 คน 3) รับและประเมินความเป็นประโยชน์ของข้อเสนอแนะจากเพื่อน 4) ทำงานกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน แล้วประเมินการทำงานของสมาชิก และ 5) ผู้สอนให้ข้อเสนอแนะงานกลุ่มและปรับแก้เสริมความเข้าใจในมโนมติที่ถูกต้อง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบทดสอบวัดมโนมติ เรื่อง พันธะเคมี ผลการศึกษา พบว่า นักเรียนมีคะแนนสะสมรวมทุกสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เฉลี่ย 22.15  และมีคะแนนมโนมติหลังเรียนเฉลี่ย 42.64 มีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เป็น 73.80/71.06  จากการวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อเปรียบเทียบคะแนนมโนมติก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการทดสอบค่าที แบบกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระต่อกัน (dependent samples t-test analysis) พบว่า นักเรียนมีคะแนนมโนมติหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value น้อยกว่า .001) และมีความก้าวหน้าทางการเรียนร้อยละ 33.28  ซึ่งมีร้อยละมโนมติก่อนเรียนถูกต้อง คลาดเคลื่อน และผิด เท่ากับ 15.67  36.77 และ 52.56 ตามลำดับ และมีคะแนนร้อยละมโนมติหลังเรียนถูกต้อง คลาดเคลื่อน และผิด เท่ากับ 59.80  27.07 และ 13.13 ตามลำดับ

Abstract :

 Chemical bonding is one of the intangible concepts in chemistry which is difficult to understand as many students held some alternative conceptions about bonding. Lecture-based teaching approach may not be effective enough to correct these alternative conceptions. The new cooperative learning approach called paper-based T5 model was introduced in the chemical bonding topic including 6 learning environments (LEs), 17 hours. The T5 learning process in each LE consists of 1) completing an individual task by studying provided resources, 2) providing constructive feedback to two peer tasks, 3) modifying an individual task regarding peer feedbacks, 4) completing a team task by group of 4 students, and 5) correcting and fulfilling student conceptions by an instructor. The target group of this study was 33 students from Matthayomsuksa 4 in the first semester of year 2010 at Tantong Pittayakom School. The study tools consisted of conceptual test. The study resulted that the transitional score of all LEs was 22.15 and the post-conceptual score was 42.64, so the E1/E2 effectiveness was 73.80/71.06. The dependent t-test analysis indicated that the post-conceptual score was statistical higher than the pre-conceptual score at p-value less than 0.001 as the gain in content knowledge was 33.28%. For the pre-conception, the percentage of good, alternative and misconception were 15.67, 36.77 and 52.56, respectively. After the T5 learning activities, the percentage of good, alternative and misconception were 59.80, 27.07 and 13.13, respectively.

คำสำคัญ :

T5 model มโนมติคลาดเคลื่อน มโนมติผิด

Keywords :

T5 model, alternative conception, misconception

รายละเอียดวารสาร

    
    
    

    วารสารล่าสุด
ปีที่ 6 | ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559

    ติดต่อ
-

    โทรศัพท์ และ แฟกซ์
โทรศัพท์: -
แฟกซ์: -

    อีเมล์
-