วารสารวิจัย มข. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ปีที่ 1 | ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - กันยายน 2554

ชื่อเรื่อง :

การศึกษาชั้นเรียน (Lesson study): แนวคิดใหม่ในการพัฒนาวิชาชีพครู

Title :

Lesson Study: A New Concept for Teacher Professional Development

ผู้แต่ง :

นภาพร วรเนตรสุดาทิพย์

Authors :

Woranetsudathip Naphaporn

บทคัดย่อ :

การศึกษาชั้นเรียน Lesson study ในรูปแบบหลักในการพัฒนาวิชาชีพครู รูปแบบนี้ได้รับการพัฒนาและใช้ได้ผลดีในประเทศญี่ปุ่นมาแล้ว และรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์แบบเปิดที่ใช้นวัตกรรม Lesson studyได้รับการพัฒนาและปรับปรุงให้เกิดการสอนที่ยั่งยืน รูปแบบนี้มีความสำคัญในการพัฒนาครูอย่างต่อเนื่องตามเหตุผลคือ 1)ทำให้เกิดความเข้าใจแนวคิดและแนวปฏิบัติการสอน 2) ปรับเปลี่ยนความคิดวิธีสอนและการเรียนรู้ 3) ครูได้รับการพัฒนาจากผลสะท้อนของนักเรียน 4) ได้รับการสนับสนุนจากเพื่อนครูด้วยกัน ข้อดีของรูปแบบ Lesson study คือ ช่วยลดอุปสรรค์เรื่องจำนวนเด็กต่อห้องเรียนที่มากเกินไปได้ และครูจะได้ประโยชน์ตรงจากการพัฒนาแผนการเรียนรู้จนทำให้เกิดการวิจัยขึ้นได้ การเรียนแบบเปิดในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เป็นการเน้นให้นักเรียนเสาะหาคำตอบโดยได้ร่วมกันคิด นักเรียนแต่ละคนจะมีประสบการณ์ในการเรียนรู้ที่แตกต่างและการหาเหตุผลมาสนับสนุนและเด็กนักเรียนจะได้อภิปรายผลร่วมกันโดยครูและนักเรียนจะร่วมสรุปประเด็นความรู้ได้ ซึ่งรูปแบบนี้จะสามารถพัฒนาศักยภาพทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนแต่ละบุคคลได้ ซึ่งกระบวนการ Lesson study มีดังนี้ 1) สร้างสถานการณ์หรือโจทย์การเรียนรู้ 2) สร้างสื่อการเรียนรู้จะช่วยให้เห็นวิธีการคิดของผู้เรียนแต่ละคนและช่วยให้ผู้เรียนแต่ละคนแสดงศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ 3) การมีช่วงเวลาให้ผู้เรียนรู้ด้วยตนเอง 4) การแลกเปลี่ยนแนวความคิดร่วมกันของผู้เรียนแต่ละกลุ่ม 5) ขั้นตอนการสรุปครูจะทำหน้าที่เชื่อมร้อยความคิดของกลุ่มทุกกลุ่ม 6) สะท้อนผลการสอน 7) แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนร่วมวิชาชีพ ลักษณะของ Lesson study แตกต่างจากการพัฒนาครูทั่วไป คือ การเปิดโอกาสให้ครูได้มองเห็นการสอนและการเรียนรู้ในชั้นเรียนอย่างเป็นรูปธรรม นักเรียนเป็นหัวใจหลักในการเรียนการสอน และครูได้มีบทบาทสำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการสอนและการพัฒนาหลักสูตร

Abstract :

 Teaching through the lesson study for the teacher professional development has been improved and used effectively in Japan. The open approach in mathematics with innovation of lesson study has been developed to be a permanent teaching style. This technique is of important in the continuous improvement of teachers as the following reasons: 1) it helps to understand in an educational concept relating to the teaching procedure; 2) it can adapt the concept and technique of teaching and learning; 3) teachers learn and develop their teaching methods through students’ reflection; and 4) teachers are supported by their fellow. Advantages of the lesson study are that the over-numbers of student in a classroom are reduced and teachers learn directly from the study plan to become a research. Study with the open approach in mathematics focuses on seeking answers by sharing the students’ ideas. The different learning experience of each student leads to a group discussion between students and teachers. As a result, the learning potential in mathematics of students will be improved effectively. The process of the lesson study consists of 1) the design of a problem situation; 2) creating learning media to help teachers see the different thinking methods of an individual student and help students show their learning potential; 3) sharing their opinions in their groups; 5) linking all ideas by teachers in the conclusion step; 6) reflecting the result of teaching; and 7) exchanging knowledge among teachers. The unique quality of the lesson study differs from other approaches for the teacher development as followed: providing an opportunity for teachers to experience the concrete teaching and learning in the classroom, students as a heart of learning process and an important role of teachers in varying their teaching behaviors and developing the curriculum

คำสำคัญ :

การศึกษาชั้นเรียน

Keywords :

Lesson study

รายละเอียดวารสาร

    
    
    

    วารสารล่าสุด
ปีที่ 6 | ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559

    ติดต่อ
-

    โทรศัพท์ และ แฟกซ์
โทรศัพท์: -
แฟกซ์: -

    อีเมล์
-