วารสารวิจัย มข. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ปีที่ 1 | ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - กันยายน 2554

ชื่อเรื่อง :

การคลี่คลายความขัดแย้งในการจัดการทรัพยากรน้ำในบริบทสังคมไทย : กรณีศึกษาเขื่อนลำปะทาว จังหวัดชัยภูมิ

Title :

Conflict Resolution in Water Resource Management in Thai Society : A Case Study of Lampatao Dam in Chaiyaphum Province.

ผู้แต่ง :

สุนทร ปัญญะพงษ์ , วิยุทธ์ จำรัสพันธุ์ และ วงศา เลาหศิริวงศ์

Authors :

Soonthorn Panyapong , Viyouth Chamruspanth and Wongsa Laohasiriwong

บทคัดย่อ :

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุของความขัดแย้ง กระบวนการคลี่คลายความขัดแย้ง และแนวทางในการคลี่คลายความขัดแย้งในการบริหารจัดการน้ำจากเขื่อนลำปะทาว ผลการวิจัยพบว่า สาเหตุหลักของความขัดแย้งมี 5 ประการคือ 1) ด้านโครงสร้าง หน่วยงานของรัฐมุ่งเน้นการนำนโยบายการจัดการน้ำไปปฏิบัติโดยไม่ตระหนักว่าชุมชนจะเห็นด้วยหรือไม่ 2) ด้านข้อมูลข่าวสาร ข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณน้ำและการใช้น้ำที่หน่วยงานของรัฐเผยแพร่ไม่ตรงกันกับประสบการณ์ของชุมชน 3) ด้านความสัมพันธ์ หน่วยงานของรัฐขาดการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับชุมชน ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานของรัฐกับชุมชนมีเพียงเท่าที่จำเป็นต่อการทำให้งานของรัฐบรรลุเป้าหมาย 4) ด้านผลประโยชน์ หน่วยงานของรัฐแสวงหาประโยชน์โดยการจัดสรรน้ำเพื่อตอบสนองความต้องการขององค์กรธุรกิจและประชาชนที่อยู่นอกเขตชุมชน 5) ด้านค่านิยม หน่วยงานของรัฐมุ่งเน้นการจัดสรรทรัพยากรน้ำเพื่อสนองตอบต่อเป้าหมายของนโยบาย ส่วนชุมชนเชื่อว่าทรัพยากรน้ำมีไว้เพื่อตอบสนองความต้องการของคนในชุมชนเท่านั้น กระบวนการที่ถูกนำใช้มากที่สุดเพื่อคลี่คลายความขัดแย้งเกี่ยวกับน้ำ คือการเจรจาไกล่เกลี่ยโดยการมีส่วนร่วมของคณะบุคคลที่มีความเป็นกลาง แนวทางที่เหมาะสมในการคลี่คลายความขัดแย้งเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากรน้ำ คือการนำโครงการของรัฐไปปฏิบัติโดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน การตัดสินใจโดยใช้สารสนเทศที่เชื่อถือได้ การแก้ไขปัญหาโดยการมีส่วนร่วมของคณะบุคคลที่มีความเป็นกลาง และการใช้ทุนทางสังคม

Abstract :

 The objectives of this research were to study the cause of conflict of water management, the process of conflict resolution and the appropriate ways for resolution of conflict on water management. The results of research revealed that there were five main causes of conflict on water management. Causes of conflict could be summarized as follows: 1) Structure perspective, public organizations emphasized on implementing water allocation policy without consideration if the people in communities agree. 2) Data perspective, data of water quantity and water usage informed by public organizations was not consistent with the data according to the experience of the people in communities. 3) Relationship perspective, there was a lack of good relationship between public organizations and the communities, i.e. public organizations only had relationship with the communities so far as to reach the objectives. 4) Benefit perspective, public organizations seek to obtain benefits from supplying water to business organizations and people outside the communities. 5) Value perspective, public organizations emphasized on water allocation according to the policy’s goal but the people in communities believe that water in Lampatao dam choose be used to support their own communities only. The most frequently used conflict resolution method was reconciliation based on the participation of impartial party. The appropriate means for water conflict resolution included implementing public project with participation on decision making of people in the communities, using reliable data for decision making, soliciting the impartial party from organizations to participate in the process of conflict resolution, and using social capital. 

คำสำคัญ :

ความขัดแย้ง, การคลี่คลายความขัดแย้ง, การจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี

Keywords :

Conflict, Conflict Resolution, Conflict Management of Meditation

รายละเอียดวารสาร

    
    
    

    วารสารล่าสุด
ปีที่ 6 | ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559

    ติดต่อ
-

    โทรศัพท์ และ แฟกซ์
โทรศัพท์: -
แฟกซ์: -

    อีเมล์
-