วารสารวิจัย มข. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ปีที่ 1 | ฉบับที่ 3 ตุลาคม - ธันวาคม 2554

ชื่อเรื่อง :

ผลกระทบของภัยแล้งจากวิกฤติแม่น้ำโขง

Title :

A Drought Effected During Dry Season by Mekong Crisis

ผู้แต่ง :

ชุติมา เมฆวัน , รวี หาญเผชิญ , สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ และภัทรพงษ์ เกริกสกุล

Authors :

Chutima makewan , Rawee Hanpachern , Suthipun Jitpimolmard and Patharapong Kerasakull

บทคัดย่อ :

  การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) แบบเร่งด่วน ใน 3 พื้นที่ คือจังหวัดเลย จังหวัดหนองคาย และจังหวัดนครพนม โดยใช้กระบวนการศึกษารวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ การลงพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูลในพื้นที่จริง ผลการศึกษาพบว่าทุกพื้นที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติน้ำโขงแห้งในครั้งนี้ แต่ละแห่งจะได้รับผลกระทบที่มากน้อย ทางตรงหรือทางอ้อม ด้านบวกหรือลบอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับสภาพของน้ำโขงบริเวณนั้นกับการใช้ประโยชน์จากแม่น้ำโขงในการทำกิจกรรมต่างๆ ของแต่ละพื้นที่ โดยผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเป็นผลกระทบที่มีชุมชนได้รับผลกระทบสูงที่สุดโดยเฉพาะประเด็นปลาบางชนิดหายากขึ้นจากภาวะน้ำโขงแห้ง และน้ำโขงแห้งทำให้ขาดน้ำในการอุปโภค เป็นประเด็นที่มีหมู่บ้านได้รับผลกระทบทุกหมู่บ้าน (24 หมู่บ้าน) โดยเฉลี่ยระดับผลกระทบในระดับมาก รองลงมาเป็นประเด็นผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ซึ่งพื้นที่ได้รับผลกระทบทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ ในเชิงลบประเด็นที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือรายได้ลดลงจากพื้นที่การเกษตรหายหรือการปลูกพืชบางชนิดไม่ได้ ซึ่งทุกพื้นที่ได้รับผลกระทบ (24 หมู่บ้าน) และมีระดับผลกระทบที่ระดับมาก ส่วนผลกระทบเชิงบวกนั้นการเกิดแหล่งท่องเที่ยวเป็นประเด็นที่มีจำนวนหมู่บ้านได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยมีถึง 10 หมู่บ้าน และมีค่าเฉลี่ยระดับผลกระทบในระดับปานกลาง ส่วนประเด็นผลกระทบด้านสังคมพบว่าผลกระทบที่ได้รับมากที่สุดคือการเพิ่มขึ้นของการขนส่งของที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายโดยมีหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจำนวน 14 หมู่บ้านและมีระดับผลกระทบที่ระดับปานกลาง

Abstract :

The approach of this study is a rapid survey research focusing on the impacts of the Mekong crisis in 3 provinces namely Loei, Nong Khai, and Nakhon Panom. Methods of this study include rapid data collection, telephone interview, and field study in order to find out the adaptation from the communities in above mentioned provinces to the drought crisis. The results show that all studied areas were affected by the drought crisis directly and indirectly, negatively and positively depending on each community’s usage of the Mekong?. The results from the field study reveals that environment has the most critical effect from this crisis, especially to some fish species from the Mekong, which are rarely caught since the Mekong dried. Another effect from the drying of Mekong is lacking water for consumption, which affects all targeted 24 villages in this study; this has the impact of high average. Besides, economy in the communities has also got an impact from the drought crisis both positively and negatively. The most negative impact from which all 24 villages were affected is earning less income from disappearing land for agriculture as well as being unable to grow some kinds of plants. The most positive impacts from which 10 villages were affected is occurring of tourist sightseeing, which has the middle average impact. Lastly, the social impacts found two issues, illegal logistics, which affected 14 villages for the middle average impact; and transmitting immigration had the effect on 6 villages for lesser average impact.

คำสำคัญ :

ผลกระทบ แม่น้ำโขง ภัยแล้ง

Keywords :

Impact, Maekong River, During Dry

รายละเอียดวารสาร

    
    
    

    วารสารล่าสุด
ปีที่ 6 | ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559

    ติดต่อ
-

    โทรศัพท์ และ แฟกซ์
โทรศัพท์: -
แฟกซ์: -

    อีเมล์
-