วารสารวิจัย มข. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ฉบับธุรกิจและเศรษฐกิจ)

ปีที่ 10 | ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2554

ชื่อเรื่อง :

การศึกษาการตัดสินใจเลือกช่องทางการขายของเกษตรกรชาวไร่อ้อยรายเล็กของ บริษัทรวมเกษตรกรอุตสาหกรรม จำกัด สาขามิตรภูเวียง จังหวัดขอนแก่น

Title :

A Study of Market Channel Selection of Small Scale Cane Growers the Case of United Farmer & Industry Co., Ltd. Khon Kaen

ผู้แต่ง :

วิชรัตน์ บุปผาพันธุ์ และณัฏฐ์ ธันยภรสกล

Authors :

Wicharat Buppapun and Nat Thunyapornsakol

บทคัดย่อ :

งานวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาการตัดสินใจของเกษตรกรในการขายอ้อยให้โรงงานฯและลานรับซื้อเงินสดให้ได้ตามเป้าหมาย งานศึกษานี้ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์เกษตรกรชาวไร่อ้อยรายเล็ก กลุ่มตัวอย่างจำนวน 120 ท่าน ในเขตพื้นที่ปลูกอ้อยของโรงงานน้ำตาลมิตรภูเวียง จังหวัดขอนแก่น หนองบัวลำภู และชัยภูมิ จากนั้นทำการวิเคราะห์โดยใช้เครื่องมือการศึกษาคุณลักษณะที่เกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดสินใจเลือกขาย (Conjoint Analysis method)

       ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจขายอ้อยให้กับโรงงานฯ มากคือ ราคาอ้อยที่โรงงานฯ รับซื้อและปัจจัยที่มีผลน้อยที่สุดคือ การตรวจสอบคุณภาพอ้อย ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของเกษตรกรชาวไร่อ้อยรายเล็กคือ ระยะทางจากแปลงอ้อยถึงสถานีขนถ่ายของโรงงานฯ ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจน้อย คือ ระบบคิวของโรงงานฯ นอกจากนี้ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจขายอ้อยให้กับโรงงานฯ แต่มีความพึงพอใจสูงคือ ระยะทางจากแปลงอ้อยถึงสถานีขนถ่ายของโรงงานฯ และปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจขายอ้อยให้กับโรงงานฯ และเกษตรกรมีความพึงพอใจน้อยคือ ระบบคิวของโรงงานฯ 2) การตัดสินใจเลือกช่องทางการขายอ้อยของเกษตรกรชาวไร่อ้อยรายเล็กที่มีความสำคัญตามลำดับ คือราคาอ้อยที่โรงงานฯ สูงกว่าหรือเท่ากับราคาลานรับซื้อเงินสด ระยะเวลารอคอยขนถ่าย มีการบริการตัดอ้อย ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกช่องทางการขายของเกษตรกรชาวไร่อ้อยน้อยที่สุด โดยมีทิศทางความสัมพันธ์ลักษณะตรงกันข้ามคือ การส่งเสริมปานกลางและการส่งเสริมมากตามลำดับ กล่าวคือการส่งเสริมมาก การตัดสินใจส่งอ้อยน้อย ปัจจัยที่ไม่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกช่องทางการขายคือ ความสัมพันธ์ชุมชนมากและปานกลางตามลำดับ

Abstract :

The objective of this research was to find out the method to increase cane production. Data collection was conducted by questionnaire method in small sugarcane growers of Mitr Phu Wiang factory areas are Chaiyaphum, Sriboonrueng and Khon Kaen province, totally 120 persons. Data analysis by using the Conjoint analysis method.        The results showed that (i) factor is highest effected to decision making for sell cane to factory is factory’s sugarcane price and cane quality testing by factory factor is smallest effects. The factor is highest effected to satisfaction of small scale cane growers is distant of sugarcane field to factory loading station and the queue of cane transportation factor is lowest effects. In addition, the factor which effected to decision making for sell cane to factory and highest effected to satisfaction of small scale cane growers in this study is distant of sugarcane field to factory loading station. On the other hand the factor which effected to decision making for sell cane to factory but lowest effected to satisfaction of small scale cane growers is queue of cane transportation. (ii) The factors which high effected to market channel decision of small scale cane growers are factory sugarcane price; higher or equal than another market, time of cane loading and cutting service respectively. The factors which lowest effected and negative correlation to market channel decision of small scale cane growers were medium and high loan respectively; that means increased of high loan led to decreased of cane sell to factory. The factors which no effected to market channel decision of small scale cane growers were high and medium social relationships respectively.

คำสำคัญ :

การตัดสินใจ ช่องทางการขาย เกษตรกรชาวไร่อ้อยรายเล็ก

Keywords :

Conjoint Analysis, Market Channel, Small Scale Cane Growers

รายละเอียดวารสาร

    
    
    

    วารสารล่าสุด
ปีที่ 12 | ฉบับที่ 2 กันยายน - ธันวาคม 2557

    ติดต่อ
กองบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น สำนักงานอธิการบดี อาคาร 2 123 หมู่ 16 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002

    โทรศัพท์ และ แฟกซ์
โทรศัพท์: 043-203176
แฟกซ์: 043-203177

    อีเมล์
kkurj@kku.ac.th