วารสารวิจัย มข. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ปีที่ 1 | ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - กันยายน 2554
ชื่อเรื่อง :
การเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง กรด-เบส ด้วยชุดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ ทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน
Title :
Enhancement of Learning Achievement of Acid-Base by Using Science Inquiry Context-Based (SICB) Learning Packages
ผู้แต่ง :
สุธี ผลดี และ ศักดิ์ศรี สุภาษร
Authors :
Sutee Pholdee and Saksri Supasorn
บทคัดย่อ :
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี เรื่อง กรด-เบส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยชุดการเรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน จำนวน 6 ชุดการเรียนรู้ ใช้เวลา 18 คาบ โดยเป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียวสอบก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 และ 5/2 จำนวน 75 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจงประชากรนักเรียนสายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 116 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนศรีบุณยานนท์ จังหวัดนนทบุรี จากการแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มตามคะแนนเฉลี่ยทดสอบก่อนเรียนและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (mean ? SD) สามารถแบ่งนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเก่ง กลุ่มปานกลาง และกลุ่มอ่อน เมื่อวิเคราะห์คะแนนผลสัมฤทธิ์ด้วยการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระต่อกัน พบว่า นักเรียนกลุ่มเก่ง กลุ่มปานกลาง และกลุ่มอ่อนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งสามกลุ่ม และจากการทดสอบด้วยสถิติ ANNOVA พบว่า นักเรียนกลุ่มเก่งและกลุ่มปานกลางมีคะแนนความก้าวหน้าทางผลสัมฤทธิ์สูงกว่ากลุ่มอ่อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่นักเรียนกลุ่มเก่งมีคะแนนความก้าวหน้าทางผลสัมฤทธิ์ไม่แตกต่างจากกลุ่มปานกลาง และจากการวิเคราะห์แบบสอบถามความพึงพอใจ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดการเรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน อยู่ในระดับมาก
Abstract :
This research aimed to enhance learning achievement of acid-base by using the developed science inquiry context-based (SICB) learning packages, six packages totally 18 periods. The sample of this one group pretest-posttest research was 75 Grade-11 students from Room 1 and 2, purposively sampled from 116 Grade-11 students in the Science-Mathematics plan at Sriboonyanon School, the first semester of the academic year 2010. The students were categorized as high-, middle and low-achieving students according to mean ? SD of the pretest score. The dependent samples t-test analysis revealed that high-, middle, and low-achieving students obtained post-achievement score statistically higher than that of the pre-achievement score (p<0.05) for all case. The ANNOVA analysis also reported that high- and middle-achieving students gained in content knowledge statistically higher than low- achieving students at p-value less than 0.05. However, high-achieving students gained in content knowledge not statistically higher than middle-achieving students. In addition, the students were highly satisfied with this SICB learning packages.
คำสำคัญ :
ชุดการเรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์, การเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน, การเรียนรู้แบบ 5E
Keywords :
science inquiry learning packages, context-based learning, 5Es learning