วารสารวิจัย มข. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ปีที่ 2 | ฉบับที่ 1 มกราคม - มีนาคม 2555
ชื่อเรื่อง :
การศึกษาพหุกรณี: การสอนของครูเคมีในบริบทที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
Title :
Case studies: Chemistry teachers’ teaching in the context of teaching for critical thinking
ผู้แต่ง :
กัลยาณี พันโบ, นฤมล ยุตาคม และ ลัดดา มีศุข
Authors :
Kanlayanee Punbo, Naruemon Yutakom and Ladda Meesuk
บทคัดย่อ :
การศึกษาครั้งนี้ประเมินความเข้าใจเกี่ยวกับการสอนที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการสอนที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของครูเคมี กลุ่มที่ศึกษาประกอบด้วยครูเคมี 4 คน ในโรงเรียนจังหวัดนนทบุรี จำนวน 2 โรงเรียน โรงเรียนละ 2 คน สอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 เก็บข้อมูลในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 โดยการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง การสังเกตการสอน การตอบแบบสอบถาม และการตรวจเอกสารที่ใช้ในการสอน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงอุปนัยเพื่อพิจารณาแนวการสอนของครู ผลการศึกษาพบว่า ครูเข้าใจว่าการสอนที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณเป็นการใช้คำถามและการให้นักเรียนทำการทดลอง แต่ในการสอนจริงครูยังใช้คำถามปลายปิดและมักจะตอบคำถามด้วยตนเอง แม้ว่าครูให้นักเรียนทำการทดลองเป็นกลุ่มแต่การมีส่วนร่วมในการทดลองของนักเรียนยังน้อย ครูประเมินผลการเรียนรู้จากการทำแบบทดสอบและรายงานผลการทดลองเป็นหลัก แสดงว่าการสอนของครูยังไม่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ครูควรมีโอกาสเข้าร่วมการพัฒนาการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนและการสอนที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
Abstract :
This study assesses chemistry teachers’ understanding of, and teaching for critical thinking. Participants included four chemistry teachers, grades 10-12, in Nonthaburi Province: two teachers each in two schools. Data collection took place in the first semester of academic year 2009 using semi-structured interviews, classroom observations, teachers’ questionnaire, and analysis of teaching documents. Data was analyzed inductively, and then categorized into themes. The teachers perceived that to promote students’ critical thinking is by asking questions and doing experiments in group. However, in real teachers’ teaching, the teachers always used close-ended questions and answered the questions by themselves. Although the teachers did experiments with students, students did not participate properly in doing experiment. In assessment, the teachers assess student learning based on tests and experimental report document. The teachers did not teach for critical thinking. It implies that professional development on designing and implementing learning activities related to teaching for critical thinking would be valuable for the teachers.
คำสำคัญ :
การสอนที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ, การสอนของครูเคมี
Keywords :
Teaching for critical thinking, Chemistry teachers’ teaching