วารสารวิจัย มข. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ปีที่ 2 | ฉบับที่ 1 มกราคม - มีนาคม 2555

ชื่อเรื่อง :

กลยุทธ์การพัฒนาสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ สำหรับวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

Title :

Strategies for Development of Learning Organization for Nursing Colleges under Phra Borommarajchanok Institute, Ministry of Public Health.

ผู้แต่ง :

ดวงใจ เปลี่ยนบำรุง, นิตยา ภัสสรศิริ, ชูชาติ พ่วงสมจิตร์ และ ดิเรก วรรณเศียร

Authors :

Doungjai Plianbumroong, Nittaya Passornsiri, Choochat Phuangsomjit and Derek Wannasian

บทคัดย่อ :

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระดับ และองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ และ นำเสนอกลยุทธ์การพัฒนาสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ วิธีวิจัยแบ่งเป็นระยะที่ 1 ศึกษาระดับ และองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ อาจารย์จากวิทยาลัยพยาบาล สถาบันพระบรมราชชนก 870 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม มีค่าความเที่ยง 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ระยะที่ 2 กรณีศึกษาองค์การวิทยาลัยพยาบาล เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการศึกษาเอกสาร การสังเกต การสัมภาษณ์เจาะลึก และการสนทนากลุ่มย่อย ผู้รู้ที่เป็นผู้ให้ข้อมูลสำหรับการวิจัยในเชิงคุณภาพได้จากวิทยาลัยพยาบาลที่มีคะแนนเฉลี่ยการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้สูงสุด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 3กำหนดกลยุทธ์การพัฒนาสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก และหาฉันทามติของผู้ทรงคุณวุฒิ 6 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา         ผลการวิจัยพบว่า (1) วิทยาลัยพยาบาลที่มีคะแนนเฉลี่ยการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้สูงสุด ได้แก่ วิทยาลัยพยาบาล2 เครือข่ายภาคใต้ (2) ภาวะผู้นำ พฤติกรรมบุคลากรในองค์การ การจูงใจ วิสัยทัศน์ พันธกิจ และกลยุทธ์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร เป็นองค์ประกอบที่มีผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และบรรยากาศองค์การ (p<0.05) สามารถร่วมทำนายความแปรปรวนการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ร้อยละ 86 (3) การนำเสนอกลยุทธ์การพัฒนาสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ สำหรับวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข ประกอบด้วย 9 กลยุทธ์ คือ 1) พัฒนากายภาพและสภาพแวดล้อมสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ 2) พัฒนาระบบบริหารจัดการและการประเมินผลเพื่อส่งเสริมการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ 3) สนับสนุนการบริหารงานแบบกระจายอำนาจ และการทำงานแบบมีส่วนร่วมของบุคลากร 4) ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกองค์การ 5) พัฒนาตัวชี้วัดในการประเมินคุณภาพ และนำไปสู่การเทียบเคียงสมรรถนะกับองค์กรอื่นที่มีแนวปฏิบัติที่ดี 6) เร่งรัดพัฒนาศักยภาพบุคลากรทุกระดับอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับคุณวุฒิ และความเชี่ยวชาญ 7) ส่งเสริมให้บุคลากรสร้างสรรค์องค์ความรู้หรือนวัตกรรมใหม่ ๆ 8) สนับสนุนให้มีการจัดตั้งศูนย์ความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชา เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกองค์การ และ 9) เร่งรัด สรรหา และพัฒนาบุคลากร และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้เอื้อต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้

Abstract :

The purposes of this research were to study the level of being learning organization; factors affecting the level of being learning organization; and the strategies for development of learning organization. The research process comprised, Phase 1 was a study of the level of being learning organization and factors affecting the level of being learning organization of nursing colleges. The research sample consisted of 870 randomly selected instructors from nursing colleges under Pra Boromarajchanok Institute. The data collecting instrument was a questionnaire with reliability coefficient of 0.98. Data was analyzed using the frequency, percentage, mean, standard deviation, and stepwise multiple regression. Phase 2 case studies of nursing colleges. The keymans information were instructor of the best practice for being the top learning organizations. The data was collected by observation, focus group discussion, and interviews. Data was analyzed using content analysis. Phase 3 was the determination of strategies for development of learning organization for nursing colleges under Pra Boromarajchanok Institute, Ministry of Public Health. The data was collected by interviews and finding consensus of 6 experts. Data was analyzed using content analysis.        The research results showed that 1) the highest mean score of learning organization is Nursing College2 of the Southern Network; 2) factors affecting the level of being learning organization were leadership (X1), personnel behavior in organization (X2), motivation (X9), vision, mission and strategy (X4), information technology and communications (X7), and organizational atmosphere (X6); they could be combined to predict the level of being learning organization as shown by the following regression equation: ? = 0.242 + 0.701(X1) + .331(X2) + 0.207(X9) + 0.153(X4) + 0.115(X7) + 0.071(X6); and 3) nine strategies for development of learning organization for nursing colleges were identified and proposed as follows: (1) development of the physical and environmental conditions contributing to being learning organization; (2) development of the management and evaluation system for enhancement of being learning organization; (3) supporting the decentralization of administration and the participatory work style of the personnel; (4) encouragement of knowledge sharing and exchanges both inside and outside the organization; (5) development of key indicators for quality assessment and benchmarking with best practice organizations; (6) accelerated and continuous development of the potential of personnel in every level in accordance with their qualification and specialization; (7) encouraging the personnel to create new knowledge or innovations; (8) supporting the establishment of specific field expert centers to serve as learning resources for personnel both within and outside the organization; and (9) accelerated procurement and development of the personnel and information technology to facilitate being learning organization. 

คำสำคัญ :

กลยุทธ์ การพัฒนา องค์การแห่งการเรียนรู้

Keywords :

Strategies,Development, Learning organization

รายละเอียดวารสาร

    
    
    

    วารสารล่าสุด
ปีที่ 6 | ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559

    ติดต่อ
-

    โทรศัพท์ และ แฟกซ์
โทรศัพท์: -
แฟกซ์: -

    อีเมล์
-