วารสารวิจัย มข. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ปีที่ 2 | ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2555
ชื่อเรื่อง :
จริยธรรมนักการเมืองไทย
Title :
Thai Politician Ethics
ผู้แต่ง :
ศรัณย์ วงศ์คำจันทร์
Authors :
Saran wongkhamchantra
บทคัดย่อ :
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาตัวแบบจริยธรรมนักการเมืองไทย 2) การยืนยันตัวแบบจริยธรรมนักการเมืองไทย 3) ศึกษาจริยธรรมนักการเมืองไทย 4) เปรียบเทียบจริยธรรมนักการเมืองไทย จำแนกตามเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรง คุณวุฒิฯที่มีประสบการณ์ทางด้านจริยธรรม การเมือง และการบริหาร และ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักธุรกิจ ข้าราชการ นักศึกษา และประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 2,305 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา การหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test independent) การวิเคราะห์ความแปรปรวน (F-test) และการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการของ Dunnett T3 ผลการวิจัยพบว่า ตัวแบบจริยธรรมนักการเมืองไทย 28 ข้อ เช่น มีความละอายใจไม่ทำความชั่ว สิ่งที่ไม่ดี สิ่งที่ขัดต่อกฎหมาย (หิริ) มีความเกรงกลัวต่อผลของการกระทำความชั่วและอาญา แผ่นดิน (โอตตัปปะ) มีความรู้เกี่ยวกับความดี คือรู้ว่า อะไรดี อะไรชั่ว มีความฉลาดรอบรู้เกี่ยวกับงานในหน้าที่ คน และชุมชน (ปัญญา) มีอาชีพที่สุจริต และปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ (อนวัชชพละ) ยึดถือความถูกต้อง ความจริงและธรรมเป็นหลัก (ธรรมาธิปไตย) ไม่ลำเอียงเพราะรัก ชัง หลง และกลัว (ไม่มีอคติ) และ มีความประพฤติดีงามทั้งทางกายและวาจา (ศีล) เป็นต้น ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามเพื่อยืนยันตัวแบบจริยธรรมนักการเมืองไทย พบว่าอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด ( x̄ = 4.74) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด เป็นส่วนใหญ่ ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อจริยธรรมนักการเมืองไทย พบว่า นักการเมืองไทยมีจริยธรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มีน้อย ( x̄ = 2.35) ผลการเปรียบเทียบจริยธรรมนักการเมืองไทยจำแนกตามเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือนของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า มีความคิดเห็นต่อจริยธรรมนักการเมืองไทยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Abstract :
The purposes of this study were, 1) to study a Thai politician ethics model, 2) to assure the Thai politician model, 3) to study Thai politician ethics, and 4) to compare Thai politician ethics classified by gender, age, education, occupation and monthly income. The respondents consisted of experts, having got an experience in ethics, politics, and administration. Population and sampling composed of 2,305 persons, having right for election. The research instruments consisted of an interview form, questionnaire. The data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test independent, F-test, and Dunnett T3 pairwise comparison test. The findings revealed that Thai politician ethics model consisted of 28 items such as; 1) Moral shame, not committing wrongdoing and not breaching the law (Hiri), 2) be afraid of the result of wrong deeds and law (Ottappa), 3) realizing good and bad deeds, 4) understanding one’s own duty, man, and community (Pa???), 4) honest livelihood and sincere performance (Anavajja-bala), 6) holding righteousness, truth, and dhamma (Dhammadhipateyya), 7) no prejudice caused by love, hatred, delusion, and fear (without Agati), 8) good bodily and verbal conduct (S?la) ect. The opinions of respondents to assure Thai politician ethics model were at the highest level of agreement ( x̄ = 4.74), when considering each aspect, it was found that it was mostly at the highest level of agreement. The opinions of the samples toward Thai politician ethics revealed that Thai politicians, as a whole, were at low level (( x̄ = 2.35 and S.D. = 0.32), when considering each aspect, it was found that it was mostly a low level The result of Thai politician ethics comparison classified by gender, age, education, occupation and monthly income of the samples revealed that their opinions toward Thai politician ethics were significantly different at .05 level.
คำสำคัญ :
ตัวแบบจริยธรรม, จริยธรรมนักการเมือง, นักการเมืองไทย
Keywords :
Ethics models, Politician ethics, Thai politiciane