วารสารวิจัย มข. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ปีที่ 2 | ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2555
ชื่อเรื่อง :
ผ้าไหมแพรวาบ้านโพน: ต้นแบบการบริหารโลจิสติกส์สินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดกาฬสินธุ์เพื่อการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม
Title :
Praewa Ban Phon Silk Fabric: Conceptual Model of Kalasin Local Wisdom’s Goods Logistics Management for Cultural Tourism
ผู้แต่ง :
สุชานาถ บุญเที่ยง
Authors :
Suchanart Boontiang
บทคัดย่อ :
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารโลจิสติกส์สินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่นของ สหกรณ์ศูนย์ศิลปาชีพทอผ้าไหมแพรวาบ้านโพน จังหวัดกาฬสินธุ์ สำหรับใช้เป็นต้นแบบการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา คือ สมาชิกสหกรณ์ศูนย์ศิลปาชีพทอผ้าไหมแพรวาบ้านโพน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และนักท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม จำนวน 549 คน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม ร่วมกับเครื่องมือที่หลากหลาย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินงานบริหารโลจิสติกส์สินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของสหกรณ์ศูนย์ศิลปาชีพทอผ้าไหมแพรวาบ้านโพน จังหวัดกาฬสินธุ์ประกอบด้วย 4 กระบวนการ คือ การจัดการวัสดุ การจัดการสินค้า บรรจุภัณฑ์ และการให้บริการลูกค้าที่ดำเนินงานอย่างเป็นพลวัต บนพื้นฐานการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน และการมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อนักท่องเที่ยวที่มาเยือนอย่างเป็นมิตรและเป็นธรรม แนวคิดดังกล่าวสามารถสร้างความพึงพอใจแก่นักท่องเที่ยวในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.80; S.D. = 0.40) เปรียบเทียบกับผลสำรวจก่อนเยี่ยมชม ( x̄ = 4.37; S.D. = 0.53)
Abstract :
The objectives of this research were to investigate a conceptual model of local wisdom’s goods logistics management for cultural tourism at the Royal Folk Arts and Crafts Co-operative Ban Phon Center, Kalasin Province. The sample groups in the study comprised 549 people including members of the Royal Folk Arts and Crafts Co-operative Ban Phon Center, stakeholders and cultural tourists. The research methodologies were mixed methods research with multiple investigative tools that included questionnaires and interviews. The results showed that local wisdom’s goods logistics management for cultural tourism in the Royal Folk Arts and Crafts Co-operative Ban Phon Center, Kalasin Province consisted of four activities: materials management, goods management, packaging and customer service. This model required dynamic cycle counting in local wisdom conservation, community’s participation and responsibility to the cultural tourists based on friendliness and fairness. Further, this concept was applicable to the rules of most satisfaction ( x̄ = 4.80; S.D. = 40) for cultural tourists, compared to a pre visit survey ( x̄ =4.37; S.D. = 0.53).
คำสำคัญ :
ผ้าไหมแพรวา, สินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่น, การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม, การบริหารโลจิสติกส์
Keywords :
Praewa Silk Fabric, Local Wisdom’s Goods, Cultural Tourism, Logistics Management