วารสารวิจัย มข. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ฉบับธุรกิจและเศรษฐกิจ)
ปีที่ 10 | ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2554
ชื่อเรื่อง :
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในโครงการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ
ของลูกหนี้นอกระบบที่ผ่านการอนุมัติสินเชื่อในอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
Title :
Factors Related to the Satisfaction in the Informal Debt Solution Project
of the Informal Debtor who received loan approval in Amphoe Muang Ubonratchatanee Province
ผู้แต่ง :
ศรัณย์ วีสเพ็ญ และ ปวีณา คำพุกกะ
Authors :
Saran Weesapen and Paweena Khampukka
บทคัดย่อ :
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ และความพึงพอใจของลูกหนี้นอกระบบหลังเข้าโครงการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ และปัจจัยทางเศรษฐกิจกับความพึงพอใจในโครงการฯของลูกหนี้นอกระบบ กลุ่มตัวอย่าง คือ ลูกหนี้นอกระบบที่ผ่านการอนุมัติสินเชื่อ จำนวน 187 ราย ใช้การเลือกตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ โดยแบ่งเป็นลูกหนี้นอกระบบจากธนาคารออมสิน 84 ราย จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส) จำนวน 77 ราย และจากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SMEs) จำนวน 26 ราย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน
ผลการวิจัยพบว่า ลูกหนี้นอกระบบส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 45 ปี สำเร็จการศึกษาระดับ ม.1-ม.6/ปวช/ปวส มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 9 คน ลูกหนี้นอกระบบที่อยู่ในกลุ่มภาคเกษตรมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 8,444.16 บาท ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือน 6,659.09 บาท อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยต่อเดือน 5.68 เปอร์เซ็นต์ และจำนวนหนี้นอกระบบเฉลี่ย 107,355.84 บาท สำหรับกลุ่มอาชีพนอกภาคเกษตร มีรายได้เฉลี่ย ต่อเดือน 20,387บาท ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือน 13,544.55บาท อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยต่อเดือน 9.45 เปอร์เซ็นต์ และจำนวนหนี้นอกระบบเฉลี่ย 92,668.18 บาท
ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ระดับการศึกษา กลุ่มอาชีพ และอายุ มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในโครงการฯ โดยลูกหนี้นอกระบบที่มีระดับการศึกษาต่ำจะมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการฯมากกว่ากลุ่มระดับการศึกษาสูง กลุ่มอาชีพภาคเกษตรจะมีความพึงพอใจในทุกด้านของขั้นตอนการดำเนินการมากกว่ากลุ่มอาชีพนอกภาคเกษตร และลูกหนี้นอกระบบที่มีอายุมากจะมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการฯมากกว่าผู้ที่มีอายุน้อย สำหรับปัจจัยที่สามารถพยากรณ์ความพึงพอใจในโครงการฯ ได้แก่ อาชีพ และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้หลังเข้าโครงการฯ โดยอาชีพมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับความพึงพอใจในโครงการฯ ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้หลังเข้าโครงการฯจะมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางตรงกันข้าม
Abstract :
The objectives of this research were to study the demographic factors, economic factors and the satisfaction of the informal debtors after participating in the debt solution project and to study the demographic and economic factors in association with informal debtors’ satisfaction in the project. The sample group was 187 informal debtors receiving loan approval selected by stratified sampling. They were classified into 3 groups: the informal debtors registered to Government Savings Bank (87), Bank for Agriculture and Agricultural Co-Operatives (77) and SME Bank (26). The data collection and analysis tools were questionnaires, descriptive and inference statistics.
The results revealed that most informal debtors were females with the average age of 45 years. Their education level was high school (Mattayom 1 to 6) or diploma. The average number of their family member was 9. Informal debtors from agriculture groups had the average monthly income of 8,444.16 baht. Their average monthly expenditure was 6,659.09 baht. The average loan interest rate was 5.68% and the average informal debt was 107,355.84 baht. The debtors from non agriculture groups had the average monthly income of 20,387 baht. Their average monthly expenditure was 13,544.55 baht. The average loan interest rate was 9.45% and the average informal debt was 92,668.18 baht.
The testing of the hypothesis revealed that the level of education, age and occupation group of the participants related to the satisfaction in the project. The low-educated debtors were more satisfied with the project than the debtors with higher education. Debtors from agriculture groups were more satisfied with all procedures of the project than the debtors from non agriculture groups. The older debtors were more satisfied with the project than the younger debtors. Factors that can be used to forecast the satisfaction level in the project were occupation and loan interest rate after participating in the project. Occupation groups correlated with the satisfaction level. The loan interest rate after participating in the project conversely related to the satisfaction in the project.
คำสำคัญ :
ความพึงพอใจ ลูกหนี้นอกระบบ
Keywords :
Satisfaction Informal Debtor