คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

 

ส่งบทความที่ mchit@kku.ac.th และ phumsith@hotmail.com ในกรณีที่นักศึกษาเป็นผู้ส่งบทความต้องได้รับอนุญาตจากอาจารย์ที่ปรึกษา (ให้ cc บทความไปยัง email ของอาจารย์ที่ปรึกษาด้วย)

 

รูปแบบการอ้างอิงเอกสาร 

การอ้างอิงเอกสารให้เขียนตามแบบ APA (American Psychological Association) ดังนี้

การอ้างอิงในเนื้อหาบทความ 

ให้อ้างชื่อผู้แต่งหรือชื่อเรื่องในกรณีที่ไม่มีชื่อผู้แต่ง และปีพิมพ์  โดยเขียนชื่อสกุลของผู้แต่งหรือชื่อเรื่อง และปี ค.ศ. ของการพิมพ์เอกสาร ทั้งกรณีที่เป็นเอกสารของชาวไทยและชาวต่างประเทศ 

ตัวอย่างการเขียนอ้างอิงในเนื้อหาบทความ 

     โครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาและการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติมีเป้าหมายที่สำคัญ 2  ประการ ได้แก่ ประการแรก   ประเทศไทยมีมหาวิทยาลัยวิจัยที่มีศักยภาพในระดับโลกจำนวน 7-10  แห่งที่สามารถสนับสนุนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและช่วยขับเคลื่อนให้เกิดการผลิตบัณฑิตที่มีศักยภาพ  ประการที่ 2  เพื่อให้เกิดกลุ่มวิจัยที่ผลิตผลงานวิจัยตีพิมพ์ระดับนานาชาติที่สามารถนำผลงานไปใช้ในภาคการผลิต ช่วยสร้างรายได้สู่ชุมชน และส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม ทั้งในด้านการส่งเสริมการส่งออกและทดแทนการนำเข้า  จากเป้าหมายดังกล่าวได้มีการจัดกลุ่มมหาวิทยาลัยของไทยออกเป็น  4  กลุ่มและมีบทบาท ดังนี้ (Pitiyanuwatna, 2006)

หรือ 

     Pitiyanuwatna (2006) ได้กล่าวถึงโครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาและการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติมีเป้าหมายที่สำคัญ 2  ประการ ได้แก่ ประการแรก   ประเทศไทยมีมหาวิทยาลัยวิจัยที่มีศักยภาพในระดับโลกจำนวน 7-10  แห่งที่สามารถสนับสนุนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและช่วยขับเคลื่อนให้เกิดการผลิตบัณฑิตที่มีศักยภาพ  ประการที่ 2  เพื่อให้เกิดกลุ่มวิจัยที่ผลิตผลงานวิจัยตีพิมพ์ระดับนานาชาติที่สามารถนำผลงานไปใช้ในภาคการผลิต ช่วยสร้างรายได้สู่ชุมชน และส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม ทั้งในด้านการส่งเสริมการส่งออกและทดแทนการนำเข้า     จากเป้าหมายดังกล่าวได้มีการจัดกลุ่มมหาวิทยาลัยของไทยออกเป็น  4  กลุ่มและมีบทบาท ดังนี้

ตัวอย่างการเขียนอ้างอิงท้ายบทความ

     Pitiyanuwatna, S. (2006). External evaluation of higher education institutions:

          Lecture notes at Chulalongkorn University on April 12, 2006. (In Thai). Retrieved           December 24, 2009, from http://www.cu-qa.chula.ac.th/News/12-4-2006-2.ppt.

 

การอ้างอิงท้ายบทความ 

ให้เขียนรายการเอกสารอ้างอิงเป็นภาษาอังกฤษ แล้วจัดเรียงลำดับรายการเอกสารที่ใช้อ้างอิงไว้ท้ายบทความตามลำดับอักษรชื่อสกุลของผู้แต่ง หรือชื่อเรื่องในกรณีที่ไม่มีชื่อผู้แต่ง หากเอกสารที่อ้างอิงไม่ได้เขียนด้วยภาษาอังกฤษ  ให้แปลความหมายของชื่อเรื่องเป็นภาษาอังกฤษ และวงเล็บท้ายชื่อเรื่องของเอกสารนั้นว่าต้นฉบับเป็นภาษาใด เช่น ระบุว่า (In Thai) ดังตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิงดังนี้     

 

1. หนังสือ

ชื่อสกุลผู้แต่ง, ชื่อย่อ.  (ปีพิมพ์).  ชื่อเรื่อง.  ครั้งที่พิมพ์.  สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์.

     Fang, J. R,  Stueart, R. D., & Tuamsuk, K., eds.  (1995).   World Guide to Library,           Archive and Information Science Education.  IFLA Publications 72/73. 

            Munich: K.G. Saur.

     Lorsuwannarat, T.  (2006).  Learning organization: From the concepts to

          practices.  (In Thai).      3d ed.  Bangkok: Ratanatri.

 

2. บทความวารสาร

ชื่อสกุลผู้แต่ง, ชื่อย่อ.  (ปีพิมพ์).  ชื่อบทความ.  ชื่อวารสาร,  ปีที่(ฉบับที่), เลขหน้าที่ปรากฏบทความในวารสาร. 

          Manmart,  L. (2000). Current situation of  technology management in Schools of Library 

                    and Information Science in Thailand. (In Thai).   Journal of Library and 

               InformationScience .18 (3): 1-24

         Sahapong, S., Manmart , L., Ayuvat, D.,Potisat, S. (2006). A systematic review of the 

                    roles and competencies of medical information professionals (MIPs) in

                    evidence-based medicine.  Ramathibodi Medical Journal 29 (1):119-130.

         Samutkhup, S., & Kittiarsa, P. (2003). Why was a female lower garment used as a

                   wrapperof palm-leaf manuscripts in Northeast Thailand? An anthropology

                   approach to Isan-palm-leaf manuscripts. (in Thai).  Art & Culture Magazine, 

                  24(6), 82-95.

 

3. บทความหรือเรื่องจากเว็บไซต์

ชื่อสกุลผู้แต่ง, ชื่อย่อ.  (ปีพิมพ์).  ชื่อเรื่อง.  Retrieved วัน เดือน ปีที่สืบค้น, from ระบุ URL ของเว็บไซต์

         Bontas, E. P. (2005). Practical experiences in building Ontology-based  retrieval  

                  systems. Retrieved 20 January  2010, from http://userpage.fu-berlin.de/~paslaru/

                  papers/swcase2005.pdf.

          Koanantakool, T. (1999). Getting ready for the new Millennium: What are the

                  Thai Government’s actions toward the year 2000?. Retrieved August 20, 1999,

                   from http://www.nectec.or.th/it-projects/

รายละเอียดวารสาร

    
    
    

    วารสารล่าสุด
ปีที่ 12 | ฉบับที่ 2 กันยายน - ธันวาคม 2557

    ติดต่อ
กองบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น สำนักงานอธิการบดี อาคาร 2 123 หมู่ 16 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002

    โทรศัพท์ และ แฟกซ์
โทรศัพท์: 043-203176
แฟกซ์: 043-203177

    อีเมล์
kkurj@kku.ac.th