วารสารวิจัย มข. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ฉบับธุรกิจและเศรษฐกิจ)
ปีที่ 10 | ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2554
ชื่อเรื่อง :
ความต้องการการฝึกอบรมทักษะการใช้ภาษาของบุคลากรบริษัทท่องเที่ยวในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวประเทศไทย: มุมมองด้านการจัดการ
Title :
The Need for Language Skills Training for Tour Company Staff in the Thailand Tourism Industry: Managerial Perspectives
ผู้แต่ง :
ถาวร ทิศทองคำ และ จอห์น วอลซ์
Authors :
Thavorn Thitthongkam and John Walsh
บทคัดย่อ :
งานวิจัยนี้ ศึกษามุมมองของผู้จัดการการท่องเที่ยวเกี่ยวกับความต้องการการฝึกอบรมทักษะการใช้ภาษาของบุคลากรบริษัทท่องเที่ยวในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวประเทศไทย และศึกษาปัญหาของบริษัทท่องเที่ยวด้านการฝึกอบรมทักษะภาษา โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบตัวต่อตัวและการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้จัดการบริษัทท่องเที่ยวที่สะดวก จำนวน 30 ตัวอย่าง ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายจากบริษัทท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีอยู่ในฐานข้อมูลของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ซึ่งสร้างโดยผู้วิจัย การวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้สัมภาษณ์ข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้จัดการโรงเรียนสอนภาษาและเจ้าหน้าที่ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิซึ่งประกอบด้วยตำรา วารสารทางวิชาการ ฐานข้อมูลออนไลน์ บทความวิจัยนี้ ได้นำเสนอผลการวิจัย 4 ประเด็นสำคัญ และมีข้อเสนอแนะว่าองค์กรต่างๆ ควรร่วมมือกัน เพื่อปรับปรุงคุณภาพการบริการให้ตรงกับความคาดหวังด้านความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว ผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าการฝึกอบรมทักษะภาษามีส่วนช่วยปรับปรุงคุณภาพของการบริการ
Abstract :
This study investigates the perspectives of tourism managers concerning the needs for language skills training for tour company staff in the Thailand tourism industry and to study the problems of tour companies with respect to language skills training. In-depth, face-to-face and telephone qualitative interviews were conducted with a convenience sample of 30 tour-company managers. The sample consisted of randomly-chosen tour companies based in Bangkok and listed in the Tourism Authority of Thailand (TAT) database. A semi-structured interview form was created as a research instrument by the researchers. The study was supplemented by additional interviews with managers of researchers. The study was supplemented by additional interviews with managers of language schools and relevant officials at the TAT, together with analysis of existing secondary data sources including books, journals and online databases. The study shows that organizations should cooperate with each other so as to improve the quality of services to meet tourists’ expectations and levels of satisfaction and, also, that language skills training helps improve the quality of services overall.
คำสำคัญ :
การอบรมภาษา บริษัทท่องเที่ยว อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว คุณภาพของการบริการ
Keywords :
Language training, Tourism companies, Tourism industry, Tourist satisfaction, Quality of service