วารสารวิจัย มข. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ฉบับธุรกิจและเศรษฐกิจ)

ปีที่ 11 | ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2555

ชื่อเรื่อง :

รูปแบบการท่องเที่ยวของเยาวชนจำแนกตามมาตรวัดค่าการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

Title :

THE YOUTH TRAVEL PATTERNS BASED ON ENVIRONMENTAL-FRIENTLY-TRAVEL SCALE

ผู้แต่ง :

นพมาศ สุวชาติ

Authors :

Noppamash Suvachart

บทคัดย่อ :

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการท่องเที่ยวของเยาวชนด้วยการวัดค่าการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้วจึงจำแนกกลุ่มตามระดับค่าความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเรียกว่าการจัดกลุ่มตามความแตกต่างของสีเขียว (Green shading categories) นอกจากนี้ผู้วิจัยได้จำแนกเป็นกลุ่มตามความกระตือรือร้นต่อความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Activeness categories) งานวิจัยนี้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามได้คำตอบจากเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 19 ถึง 24 ปี จำนวน 900 คน ผลการวิจัยพบว่าเยาวชนส่วนใหญ่เป็นผู้บริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในระดับมาก พฤติกรรมผู้บริโภคสีเขียวมีความสัมพันธ์กับการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 เมื่อจำแนกกลุ่มตามสีเขียว 5 ระดับ พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มสีเขียวเข้มร้อยละ 65.6 กลุ่มสีเขียวปานกลางร้อยละ 25.7 กลุ่มสีเขียวเข้มมากร้อยละ 7.8 กลุ่มสีเขียวอ่อนร้อยละ 0.8 และกลุ่มสีเขียวอ่อนมากร้อยละ 0.2 โดยที่ อายุ เพศ การศึกษา รายได้ ไม่ใช่ปัจจัยสำคัญในการจำแนกกลุ่มนี้ เขตท่องเที่ยวเป็นปัจจัยสำคัญในการจำแนกกลุ่มตามระดับสีเขียว เมื่อทำการจำแนกกลุ่มตามความกระตือรือร้นต่อความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พบว่า เยาวชนร้อยละ 79.1 เป็นกลุ่มกระตือรือร้นน้อย ต่อความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และร้อยละ 20.9 เป็นกลุ่มกระตือรือร้นต่อความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยที่ อายุ เพศ การศึกษา และรายได้ ไม่มีผลต่อการจำแนกกลุ่มนี้

Abstract :

 This research has the objective for studies the youth travel form, with environment-friendly-travel (EFT) values measurement. To classify the youth travel by EFT values level and separate green consumers from the not so green. The main research instrument employed for this study was questionnaires that were self-administered to 900 respondents. A respondent must be 19 – 24 years old. The results showed high green consumer values, and high EFT values. There were statistically significant relationship between green consumer values and EFT values. When classified the youth by green shading, there were five major forms of EFT travel; very dark green, dark green, medium green, light green, and very light green. We found that 65.6% of youth were dark green group, 25.7% were medium green group, 7.8% were very dark green, 0.8% were light green group, and 0.2% were very light green group. There were no statistically significant differences based on age, gender, education, and income. The tourism area preference was the importance factor of distinguish between these groups. When classified the youth by activeness categories. We found that 79.1% of youth were less active group, 20.9 % were active group. There were no statistically significant differences based on age, gender, education, and income.

คำสำคัญ :

การท่องเที่ยว เยาวชน การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

Keywords :

Travel, Youth, Environment-Friendly Travel

รายละเอียดวารสาร

    
    
    

    วารสารล่าสุด
ปีที่ 12 | ฉบับที่ 2 กันยายน - ธันวาคม 2557

    ติดต่อ
กองบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น สำนักงานอธิการบดี อาคาร 2 123 หมู่ 16 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002

    โทรศัพท์ และ แฟกซ์
โทรศัพท์: 043-203176
แฟกซ์: 043-203177

    อีเมล์
kkurj@kku.ac.th