วารสารวิจัย มข. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ปีที่ 1 | ฉบับที่ 3 ตุลาคม - ธันวาคม 2554

ชื่อเรื่อง :

นิเวศภูมิทัศน์แนวริมแม่น้ำโขง จังหวัดหนองคาย

Title :

Landscape ecology along Mekong River corridor in Nong Khai province

ผู้แต่ง :

รวี หาญเผชิญ

Authors :

Rawee Hanpachern

บทคัดย่อ :

การสำรวจพื้นที่นิเวศภูมิทัศน์แนวริมแม่น้ำโขง จังหวัดหนองคาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ สำรวจ จำแนก เชิงโครงสร้างและบทบาททางพื้นที่นิเวศภูมิทัศน์ และประเมินศักยภาพพื้นที่นิเวศภูมิทัศน์เพื่อการอนุรักษ์ การศึกษาใช้ข้อมูลทุติยภูมิเชิงพื้นที่จากแหล่งต่างๆ ร่วมกับการสำรวจเชิงประจักษ์ในภาคสนาม ด้านรูปแบบและโครงสร้างทางพื้นที่ พร้อมสร้างเกณฑ์เพื่อประเมินบทบาททั้งในเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพและเชิงคุณค่า โดยมีตัวชี้วัด คือ มิติกายภาพ ชีวภาพ คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ และจัดกลุ่มคุณค่าในการอนุรักษ์ ซึ่งจะมีขนาดพื้นที่ตั้งแต่ ระดับมหภาค ระดับอนุภาค และระดับจุลภาค ผลการศึกษา สามารถจำแนกระดับจุลภาคได้ 89 หน่วย โดยแยกรูปแบบของนิเวศภูมิทัศน์ ได้ 4 รูปแบบ ได้แก่ กลุ่มผืนน้ำ 45 หน่วย กลุ่มผืนป่า 15 หน่วย แนวลำน้ำ 48 หน่วย แนวป่าริมลำน้ำ 24 หน่วย ซึ่งทั้งระดับจุลภาค 89 หน่วย จัดเป็น 21 ระดับอนุภาค และ 5 กลุ่มระดับมหภาค ผลการประเมินคุณค่าเชิงบทบาทพื้นที่นิเวศภูมิทัศน์ บทบาทที่พบมากที่สุดคือด้านการเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต บทบาทรอง คือ เป็นที่รองรับตะกอนการดูดซึมหรือการสะสม, แหล่งกระจาย, ตัวกรอง, ตัวนำพา และตัวกั้นขวาง ตามลำดับ เมื่อประเมินกลุ่มคุณค่าในการอนุรักษ์ในระดับมหภาคพบว่ากลุ่มลำน้ำสงคราม-แม่น้ำโขง มีค่าสูงสุด ระดับอนุภาคระบบที่มีค่าควรแก่การอนุรักษ์สูงสุดได้แก่ ระบบห้วยน้ำเมา-ลำน้ำสงครามตอนล่าง ขณะที่การประเมินในระดับจุลภาคพบว่า หน่วยนิเวศภูมิทัศน์ที่มีการกระจุกตัวของบทบาทมากที่สุด คือ พื้นที่น้ำเมา-แม่น้ำสงคราม พื้นที่ปากคอง-แม่น้ำสงคราม พื้นที่บึงโขงหลง พื้นที่เทือกภูวัวและ พื้นที่หนองก๋อมเกาะ

Abstract :

The objectives of the survey of landscape ecology along Mekong river are to survey and identify the structure and function of landscape ecology, and to evaluate the potential of land in order to conserve. Gathering secondary data of spatial information from various sources, field trip and evaluation of the role of land in terms of quantity, quality and value are the major methodology in this study. The indicators comprise of physical and biological dimensions, the value of human utilization and then grouping the conservation values. The land is classified into 3 levels which are Marco scale or Mosaic, Meso scale or Sub-Mosaic and Micro scale or Site. Results of the study show that there are 89 sites which can be classified into 4 patterns of landscape ecology which are 45 sites of water patch, 15 sites of lowland and mountains forest patch, 48 sites of river corridor and 24 sites of lowland forest corridor. For those 89 sites can be classified into 21 meso scale and 5 macro scale. The study site plays the most important role as the habitat for living organisms, follow by as the sink, the source, the filter, the conduit and the barrier, respectively. The evaluation of conservation value shows that the group of Songkram-Khong river gets the highest score in macro scale, while the system of Nummao creek- lower part of Songkram river gets the highest value in meso scale. The evaluation in the micro scale shows that the area of Nummao-Songkram river, Pakkong-Songkram river, Bung Kong long wetland Phuwua and Nongkom kao wetland are the areas which comprise of many roles in the landscape ecology system. 

คำสำคัญ :

การพัฒนาพื้นที่, นิเวศภูมิทัศน์ , แม่น้ำโขง, จังหวัดหนองคาย

Keywords :

developing, landscape ecology, Maekong River, Nong Khai province

รายละเอียดวารสาร

    
    
    

    วารสารล่าสุด
ปีที่ 6 | ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559

    ติดต่อ
-

    โทรศัพท์ และ แฟกซ์
โทรศัพท์: -
แฟกซ์: -

    อีเมล์
-