วารสารวิจัย มข. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ปีที่ 2 | ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2555

ชื่อเรื่อง :

รูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนหลายวัยในศูนย์ตุ้มโฮมลูกหลานบ้านเหล่าลิง

Title :

A MODEL LIFELONG LEARNING FOR MANY PERSONS ARE AGE IN SOONTOOMHOMLOOGLANBANLAOLING

ผู้แต่ง :

ว่าที่พันตรี ดร.มานิตย์ ซาชิโย

Authors :

Manit Sachiyo

บทคัดย่อ :

รูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนหลายวัยในศูนย์ตุ้มโฮมลูกหลานบ้านเหล่าลิง ตำบลบ้านดู่ อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด มีความสำคัญในการเรียนรู้ การปลูกฝังในงานและอาชีพ และยังเป็นการสร้างเครือข่ายในระดับท้องถิ่น อำเภอ และจังหวัด ซึ่งงานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) สร้างและประเมินความเหมาะสมของ 2) ทดลองใช้ 3) ประเมิน เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพในกลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มผู้ปกครอง กลุ่มเด็กและเยาวชน ในหมู่บ้านเหล่าลิงจำนวน 50 คน และทดลองใช้และประเมินผลกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิตจากผู้ปกครองและเด็กและเยาวชนบ้านเหล่าลิง จำนวน 40 คน กำหนดตัวอย่างและโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ตามกลุ่มผู้นำ โดยใช้เกณฑ์ บุคคลผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญ (Key Informant Person)        ผลการวิจัยครั้งนี้ ทำให้ได้ ”รูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนหลายวัยในศูนย์ตุ้มโฮมลูกหลานบ้านเหล่าลิง” คือ LING MODEL ซึ่งประกอบด้วย 1) การเรียนรู้ (Learning) โดยการปรับแนวคิด สาธิตให้ดู เรียนรู้ชุมชนอื่น นำมาปฏิบัติพัฒนาต่อยอด 2) การค้นหาความถนัด (Individual) โดยการเรียนรู้สิ่งเดิม เสริมสร้างสิ่งใหม่ 3) การสร้างเครือข่าย (Network) การพัฒนาต่อยอดความรู้ให้มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง 4) การปลูกฝัง (Grown) การเรียนรู้พื้นฐานวิถีชุมชน บนความพอเพียง        โดยสรุป รูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนหลายวัยในศูนย์ตุ้มโฮมลูกหลานบ้านเหล่าลิงทำให้กลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มผู้ปกครอง กลุ่มเด็กและเยาวชน เกิดความรู้ความถนัดและสามารถสร้างเครือข่าย และการปลูกฝังรากฐานวีชีวิตในชุมชน และสามารถใช้ในการส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความต้องการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้จริงก่อให้เกิดความสำคัญของคนหลายวัยในศูนย์ตุ้มโฮมลูกหลานบ้านเหล่าลิงซึ่งจะเป็นประโยชน์ที่จะพัฒนาความยั่งยืนในชุมชนต่อไป

Abstract :

A model lifelong learning for many persons are age in Soontoomhomlooglanbanlaoling , Tambom Bandoo, Atsamat District, Roi Et province. The key to learning knowledgeable and professional. It is a network of local, district and provincial levels. 1) To establish and assess the appropriateness 2) to try it out 3) to evaluate a qualitative study of community leaders, parent groups, children and youth. These were 50 people in the village banlaoling. Test and evaluation of the learning process throughout the life of the parents and children and young to 40 people in the village banlaoling. The sample was purposively selected using the criteria key informant person.        The results of this research a model lifelong learning for many persons are age in Soontoomhomlooglanbanlaoling (LING MODEL) Which include 1) learning by the learning community concept demonstrations to further develop practices. 2) Individual the learning community concept demonstrations. To further develop practices by learning the same thing. Create something new. 3) Network by providing a forum for learning knowledge continuously. 4) Grown by learning the ways of the community on self-sufficiency.        In conclusion, A model lifelong learning for many persons are age in Soontoomhomlooglanbanlaoling. Could make of community leaders, parent groups, children and youth. The knowledge, skills and networking capabilities. Cultivated and shaped the foundation of life in the community. Can be used to encourage students to learn the practical life. The major cause of many persons are age in Soontoomhomlooglanbanlaoling to be beneficial for the further improving the sustainability of the community. 

คำสำคัญ :

รูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต, สังคมแห่งการเรียนรู้ ,ศูนย์ต้มโฮมลูกหลานบ้านเหล่าลิง

Keywords :

Model Lifelong Learning , Social for learning , Soontoomhomlooglanbanlaoling

รายละเอียดวารสาร

    
    
    

    วารสารล่าสุด
ปีที่ 6 | ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559

    ติดต่อ
-

    โทรศัพท์ และ แฟกซ์
โทรศัพท์: -
แฟกซ์: -

    อีเมล์
-