วารสารวิจัย มข. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ฉบับธุรกิจและเศรษฐกิจ)
ปีที่ 10 | ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2554
ชื่อเรื่อง :
การประเมินผลโครงการฟื้นฟูและพักหนี้เกษตรกรรายย่อยและยากจน : กรณีศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Title :
Evaluation of Revival and Suspended minor agriculturists’ debts Project : Case Study in North East of Thailand
ผู้แต่ง :
ศิริรัตน์ เจนศิริศักดิ์ และ ฐิติมา พราวศร
Authors :
Sirirut Jaensirisak and Thitima Praowsri
บทคัดย่อ :
รัฐบาลได้เริ่มดำเนินโครงการฟื้นฟูและพักหนี้เกษตรกรรายย่อยต่อเนื่องจากโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชนตั้งแต่ปี 2551 ผ่านระบบของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) โดยนำเอาผลการประเมินโครงการที่ผ่านมาสรุปเป็นบทเรียน และแก้ไขข้อบกพร่องเพื่อวางแผนการทำงานในโครงการนี้ งานวิจัยประเมินผลโครงการฟื้นฟูและพักหนี้เกษตรกรรายย่อยและยากจน : กรณีศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการดังกล่าวใน 5 ด้านหลัก ได้แก่ การปรับเปลี่ยนแนวคิดและแนวทางในการดำเนินชีวิตไปสู่ความเป็นเศรษฐกิจพอเพียง ความสามารถและความพยายามในการลดต้นทุนการผลิต ความสามารถในการหารายได้จากการประกอบอาชีพและการลดรายจ่าย ความตั้งใจที่จะชำระหนี้ ธกส. ที่มีอยู่ และความสามารถในการปฏิบัติตามแผนการจัดการหนี้ที่เหมาะสม การดำเนินงานวิจัย ใช้วิธีการศึกษาจากเอกสารและรายงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการนี้ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการออกแบบแบบสอบถามที่มีโครงสร้างสำหรับใช้ในการเก็บข้อมูลในระดับบุคคล การสัมภาษณ์กลุ่มเกษตรกรจาก 4 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งการสนทนากลุ่มจากตัวแทนของจังหวัดเดียวกันร่วมกับผู้นำชุมชนที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเกษตรกร ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่สามารถนำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตได้ในระดับปานกลาง และสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมในโครงการไปลดต้นทุนการผลิตภาคการเกษตรได้ประมาณร้อยละ 50 ของต้นทุนการผลิตเดิม นอกจากนี้ เกษตรกรส่วนใหญ่เห็นว่าการทำบัญชีครัวเรือนมีประโยชน์มากถึงมากที่สุด แต่เมื่อพิจารณาถึงการนำความรู้จากการทำบัญชีครัวเรือนไปปฏิบัติกลับพบว่า มีเกษตรกรเพียงร้อยละ 8.2 เท่านั้นที่ยังคงจัดทำบัญชีครัวเรือนอย่างต่อเนื่องนับแต่วันเสร็จสิ้นโครงการ อย่างไรก็ตาม เกษตรกรส่วนใหญ่มีความตั้งใจที่จะชำระหนี้ให้กับ ธกส. จนครบตามจำนวน และสามารถปฏิบัติตามแผนการจัดการหนี้ได้อย่างเหมาะสม
Abstract :
“Revival and Suspended minor agriculturists’ debts Project” was set up in 2008 and it was an ongoing project of Poverty Reduction Project operated by the Bank for Agriculture and Agricultural Co-operatives by using the project evaluation concluded that the past is a lesson and planning for working on this project. This research aims to assess productivity of the project in terms of (1) change ideas and ways of life to the sufficiency economy; (2) ability and efforts to reduce production costs; (3) the ability to earn income from occupation and reduce expenses; (4) willingness to pay the debt to the Bank for Agriculture and Agricultural Co-operatives; and (5) ability to comply with the appropriate debt management plan. The research reviewed the project documents and reports, and interviewed selected agriculturists from four provinces using constructed questionnaires. Focus group interviewing was also conducted with selected agriculturists and their community leaders from the same provinces. The research found that most of the agriculturists applied the sufficiency economy philosophy to their life in the medium level and could utilize knowledge gained from training programs to reduce agricultural production costs approximately 50 percents of the prior total cost. Moreover, they agreed that the household accounts were very useful; on the other hand, only 8.2 percents applied knowledge from the household account to practice continuously. However, most of the agriculturists were willing to pay all the debt to the Bank for Agriculture and Agricultural Co-operatives and had an ability to comply with the appropriate debt management plan.
คำสำคัญ :
การประเมินผลโครงการ, พักหนี้, เกษตรกร
Keywords :
Project Evaluation, Suspended Debt, Agriculturist